NEWS & PROMOTION

ข่าวสารและโปรโมชั่น

ดอกยางฉีกอันตรายไหม รู้ไว้ จะได้ไม่เสี่ยง

ดอกยางฉีกอันตรายไหม

บนท้องถนนเต็มไปด้วยอันตรายที่เราคาดเดาไม่ได้ หลายครั้งอุบัติเหตุเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว หนึ่งในสาเหตุสำคัญ คือ “สภาพยางรถยนต์ไม่พร้อมใช้งาน” แน่นอนว่า เมื่อใช้งานไปสักระยะ  ย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการสึกหรอของดอกยาง ความลึกดอกยางไม่เท่ากัน หรือแม้กระทั่งปัญหา ดอกยางฉีกขาด” ซึ่งหลายคนอาจมองข้ามไป คิดว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่รู้หรือไม่ว่า ยางไม่มีดอกหรือดอกยางฉีกนั้น อันตรายมาก! แล้วหากเราเจอปัญหานี้ควรทำอย่างไร วันนี้ดันลอปจะพาทุกคนมาคลายข้อสงสัย มาดูกันเลย! 

 

ดอกยางฉีกอันตรายไหม มีผลต่อการขับขี่รถยนต์อย่างไรบ้าง?

ดอกยางรถ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ยึดเกาะถนนและรีดน้ำขณะขับรถ เมื่อดอกยางมีรอยฉีกขาด หรือยางไม่มีดอก ย่อมส่งผลต่อการขับขี่ หากยังฝืนใช้ยางที่มีรอยฉีกขาด โดยเฉพาะรอยฉีกขาดที่ลึก ย่อมส่งผลต่อโครงสร้างภายในเกิดความเสียหาย และทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานตามมา ดังนี้

 

สูญเสียการควบคุมรถ

 

  • สูญเสียการควบคุมรถ

ดอกยางมีหน้าที่หลักในการยึดเกาะถนน โดยร่องดอกยางจะช่วยรีดน้ำออกจากหน้าสัมผัสระหว่างยางกับพื้นถนน เมื่อดอกยางฉีกขาด ร่องดอกยางจะตื้นลง ทำให้น้ำขังบนหน้ายางได้ง่าย ประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนนก็จะลดลงตาม ทำให้ควบคุมรถได้ยากขึ้น โดยเฉพาะบนถนนเปียกหรือทางโค้ง เสี่ยงต่อการลื่นไถล

  • ยางระเบิด

โครงสร้างยางที่เสียหายจากรอยฉีกขาด ย่อมเสี่ยงต่อการยางระเบิดกลางทาง ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยฉับพลัน สร้างอันตรายต่อผู้ขับขี่และผู้โดยสาร หากรถของเรามีเสียงผิดปกติจากล้อ เช่น เสียงลมรั่ว เสียงยางเสียดสีกับถนน พวงมาลัยสั่นสะเทือน รถสั่นสะเทือนผิดปกติ หรือ เรารู้สึกว่ารถบังคับได้ยากหรือรถเสียการทรงตัว ทั้งหมดนี้ เป็นสัญญาณเตือนก่อนยางระเบิดทั้งสิ้น 

  • เบรกไม่ทัน

เมื่อดอกยางสึกหรือตื้นลง จะทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกก็ลดลง ส่งผลให้ระยะเบรกยาวขึ้นกว่าปกติ เสี่ยงต่อการเบรกไม่ทันและเกิดอุบัติเหตุได้

 

ควรทำอย่างไรเมื่อพบรอยฉีกขาดที่ดอกยาง?

  • หยุดใช้งานทันที

รอยฉีกขาดที่ดอกยาง แม้จะดูเล็กน้อย แต่เป็นสัญญาณเตือนว่าโครงสร้างยางเริ่มเสียหาย ส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ เมื่อเราพบรอยฉีกขาดที่ดอกยาง ไม่ควรฝืนใช้ยางที่มีรอยฉีกขาดต่อ เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้

 

ตรวจสอบสาเหตุดอกยางฉีก

 

  • ตรวจสอบสาเหตุ

การเกิดรอยฉีกขาดบนดอกยางนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ย่อมมีสาเหตุแฝงอยู่ การหาสาเหตุและเข้าใจต้นตอของปัญหาที่ทำให้ดอกยางฉีกขาดนั้นสำคัญ ต่อการป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต และหมั่นตรวจสอบดอกยางเป็นประจำ ทุกๆ 1-2 เดือน

  • เปลี่ยนยางใหม่

แนะนำให้เปลี่ยนยางใหม่ทันที โดยเฉพาะหากรอยฉีกขาดมีขนาดใหญ่ ลึก หรือรอยฉีกขาดอยู่บริเวณหรือใกล้แก้มยาง เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ดังนั้น เราควรเลือกซื้อยางจากร้านที่ได้มาตรฐาน  และเลือกยางที่มีขนาดและดัชนีความเร็วที่เหมาะสมกับรถและการขับขี่ โดยสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของทางดันลอป เราพร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับยางรถยนต์และบริการเปลี่ยนยาง

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพบรอยฉีกขาดที่ดอกยาง ควรหยุดใช้งานทันที และนำรถเข้าตรวจสอบโดยช่างผู้ชำนาญ ไม่ควรฝืนใช้งานยางที่มีรอยฉีกขาด แม้จะดูไม่ใหญ่มากก็ตาม เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้ ดังนั้น เราควรตรวจเช็กสภาพยางรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหารอยฉีกขาด และปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

ยางรถยนต์ขอบ 18

ยางรถยนต์ขอบ 18 รุ่นยอดนิยม พร้อมเปรียบเทียบสเปกที่เหมาะกับคุณ

” กังวลเรื่องยางรถยนต์ขอบ 18 ยี่ห้อไหนดีปี 2024 อยู่หรือเปล่า? Dunlop พร้อมเป็นคู่หูในการเลือกยางที่ใช่และตอบโจทย์การขับขี่ของคุณ! “ ไม่ว่

อ่านต่อ...
ริมการ์ดยาง (Rim Guard)

ริมการ์ดยาง (Rim Guard) คืออะไร อยากปกป้องล้อแม็กซ์ให้เหมือนใหม่ต้องอ่าน!

“ล้อแม็กซ์” คือหนึ่งในอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ที่ช่วยเพิ่มความสวยงามและสปอร์ตให้กับรถ แต่การใช้งานในชีวิตประจำวันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ยางขูดฟุตบาทจะเกิดรอย

อ่านต่อ...
รีไซเคิลยางรถยนต์

ยางเก่าทิ้งที่ไหนถึงจะถูกที่ถูกทาง? รวมวิธีรีไซเคิลยางรถยนต์ที่คุณก็ทำได้

“ มนุษย์ ” และ “ สิ่งแวดล้อม ” มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น แน่นแฟ้นมาแต่ไหนแต่ไร เปรียบเสมือนสองสิ่งที่เกิดมา “ คู่กัน ” เพราะมนุษย์ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อม

อ่านต่อ...
Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • Price
  • ประสิทธิภาพบนถนนแห้ง
  • ประสิทธิภาพบนถนนเปียก
  • การต้านทานการเหินน้ำ
  • ความเงียบ
  • ความสะดวกสบาย
  • อายุการใช้งาน
  • พื้นหิมะ
  • พื้นโคลน
  • ถนนลูกรัง
  • ถนนเรียบ
  • ชนิดของรถ
Click outside to hide the comparison bar
Compare