NEWS & PROMOTION

ข่าวสารและโปรโมชั่น

วิธีการดูอายุยางรถยนต์ปีที่ผลิตง่ายๆ ควรดูยังไง?

วิธีดูอายุยางรถยนต์ปีที่ผลิต

จากบทความก่อนหน้า เราได้เรียนรู้หลักเกณฑ์คร่าวๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนยางรถยนต์เมื่อไหร่ดี เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการขับขี่กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และสำหรับบทความนี้ เราจะมาแนะนำวิธีการดูอายุยางรถยนต์ปีที่ผลิตง่ายๆ มาฝากกัน 

 

ทำไมต้องดูอายุยางรถยนต์?

ยางรถยนต์มีอายุการใช้งานที่จำกัด โดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 4-5 ปี แม้จะวิ่งไม่ถึงระยะทางที่กำหนด (40,000 – 50,000 กิโลเมตร) แต่หากยางเสื่อมสภาพก็อาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้ เช่น

  • ยางแตก : เกิดจากเนื้อยางเสื่อมสภาพ เกิดรอยแตก
  • ยางระเบิด : เกิดจากโครงสร้างยางเสื่อมสภาพ
  • สูญเสียการควบคุมรถ : เกิดจากดอกยางสึกหรอ หน้ายางแข็ง ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนน

ดังนั้น การดูอายุยางรถยนต์จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อตรวจสอบว่ายางยังอยู่ในช่วงที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานหรือไม่

 

อายุยางรถยนต์

 

วิธีดูอายุยางรถยนต์ปีที่ผลิต

จริงอยู่ที่หลายคนอาจคิดว่ายางใหม่เอี่ยมย่อมดีที่สุด แต่ในทางเทคนิคแล้ว ยางใหม่ต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือนในการ “เซตตัว” เพื่อความแข็งแรงทนทาน ผลการทดสอบยังแสดงว่ายางใหม่กับยางที่ผลิตไปแล้ว 1-2 ปี มีคุณภาพแทบไม่ต่างกัน

อย่างไรก็ตาม ยางมีอายุการใช้งานที่จำกัด โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 4-5 ปี (นับตั้งแต่เริ่มใช้งาน) ไม่ควรใช้ยางเกินระยะเวลาจากนี้ ถึงแม้ว่ายางจะดูสภาพดีก็ตาม ดังนั้น วิธีดูอายุยางรถยนต์ง่ายๆ ตามมาตรฐานของ DOT (Department of Transportation) ระบุไว้ว่าให้มีการแสดงปียางการผลิตของยางรถยนต์นั้นๆ ไว้ที่ตัวแก้มยาง คือ

  • อันดับแรก : ให้เราสังเกตุตัวเลข 4 หลัก ในกรอบวงรีบนแก้มยางด้านนอก โดยจะดูทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งรหัสตัวเลข 4 หลักนี้ จะบ่งบอกถึง สัปดาห์และปีที่ผลิต สำหรับการดูปียางรถยนต์ 
  • ตัวเลข 2 : หลักแรก หมายถึง สัปดาห์ที่ผลิต
  • ตัวเลข 2 : หลักหลัง หมายถึง ปีที่ผลิต (ค.ศ.)

ตัวอย่าง บนแก้มยางมีตัวเลข “1224” 

12 หมายถึง สัปดาห์ที่ 12 ของปี

24 หมายถึง ปี 2024 (ค.ศ.)

เพราะฉะนั้นจึงแปลได้ว่ายางเส้นนี้ถูกผลิตขึ้นมาในสัปดาห์ที่ 12 ของปี ค.ศ. 2024 นั่นเอง

 

ประโยชน์ของการดูปีผลิตยางรถยนต์

การดูปีการผลิตของยางรถยนต์นั้นมีประโยชน์หลายประการ ดังนี้ 

1. ตรวจสอบสภาพยาง

ยางรถยนต์มีอายุการใช้งานจำกัด โดยทั่วไปอยู่ที่ 4-5 ปี แม้จะวิ่งไม่ถึงระยะทางที่กำหนด (40,000 – 50,000 กิโลเมตร) การดูปีผลิตช่วยให้ทราบอายุยางโดยประมาณ เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อได้

2. เปรียบเทียบราคา

ยางรุ่นเดียวกันอาจมีราคาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปีผลิต ยางปีเก่าอาจมีราคาถูกกว่า แต่ควรตรวจสอบสภาพอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อ

3. เลือกยางที่เหมาะสม

การดูปีผลิตช่วยให้เลือกยางที่เหมาะกับการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ยางปีใหม่เหมาะกับการขับขี่ระยะยาว ยางปีเก่าอาจเหมาะกับการใช้งานระยะสั้น

4. ตรวจสอบความปลอดภัย

ยางเก่าอาจเสื่อมสภาพ เกิดรอยแตกร้าว ดอกยางสึกหรอ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนน การดูปีผลิตช่วยให้เลือกยางที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งาน

5. วางแผนการเปลี่ยนยาง

การดูปีผลิตยางที่ใช้อยู่ ช่วยให้วางแผนการเปลี่ยนยางล่วงหน้า เตรียมงบประมาณ และเลือกยางที่เหมาะสมได้

 

จะเห็นว่า การดูปียางรถยนต์นั้นมีความสำคัญมากกว่าที่คิด ไม่ได้เป็นเพียงการบอกอายุของยาง แต่ยังมีประโยชน์อื่นๆ ร่วมด้วย ดังนั้น ก่อนซื้อยางรถยนต์ทุกครั้ง ควรตรวจสอบดูปียางให้ละเอียด เพื่อเลือกยางที่ดีและเหมาะสมกับการใช้งาน

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

ยางรถยนต์ขอบ 18

ยางรถยนต์ขอบ 18 รุ่นยอดนิยม พร้อมเปรียบเทียบสเปกที่เหมาะกับคุณ

” กังวลเรื่องยางรถยนต์ขอบ 18 ยี่ห้อไหนดีปี 2024 อยู่หรือเปล่า? Dunlop พร้อมเป็นคู่หูในการเลือกยางที่ใช่และตอบโจทย์การขับขี่ของคุณ! “ ไม่ว่

อ่านต่อ...
ริมการ์ดยาง (Rim Guard)

ริมการ์ดยาง (Rim Guard) คืออะไร อยากปกป้องล้อแม็กซ์ให้เหมือนใหม่ต้องอ่าน!

“ล้อแม็กซ์” คือหนึ่งในอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ที่ช่วยเพิ่มความสวยงามและสปอร์ตให้กับรถ แต่การใช้งานในชีวิตประจำวันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ยางขูดฟุตบาทจะเกิดรอย

อ่านต่อ...
รีไซเคิลยางรถยนต์

ยางเก่าทิ้งที่ไหนถึงจะถูกที่ถูกทาง? รวมวิธีรีไซเคิลยางรถยนต์ที่คุณก็ทำได้

“ มนุษย์ ” และ “ สิ่งแวดล้อม ” มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น แน่นแฟ้นมาแต่ไหนแต่ไร เปรียบเสมือนสองสิ่งที่เกิดมา “ คู่กัน ” เพราะมนุษย์ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อม

อ่านต่อ...
Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • Price
  • ประสิทธิภาพบนถนนแห้ง
  • ประสิทธิภาพบนถนนเปียก
  • การต้านทานการเหินน้ำ
  • ความเงียบ
  • ความสะดวกสบาย
  • อายุการใช้งาน
  • พื้นหิมะ
  • พื้นโคลน
  • ถนนลูกรัง
  • ถนนเรียบ
  • ชนิดของรถ
Click outside to hide the comparison bar
Compare